logo
กรมธนารักษ์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่อ่างทอง
THE TREASURY
DEPARTMENT
MENU
  • A
  • A
  • A

เกี่ยวกับจังหวัด


   จังหวัดอ่างทอง
จังหวัดอ่างทอง เป็นจังหวัดขนาดเล็ก ตั้งอยู่บริเวณภาคกลางตอนล่าง มีเนื้อที่ 968 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีป่าไม้ และภูเขา มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านสองสาย คือ แม่น้ำน้อย และแม่น้ำเจ้าพระยา

อ่างทองเป็นจังหวัดซึ่งอุดมไปด้วยงานหัตถกรรมพื้นถิ่นไม่ว่าจะเป็นงานปั้นตุ๊กตาชาววัง การทำกลอง การทำอิฐดินเผา หรือการผลิตเครื่องจักสาน ทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดเพลงพื้นบ้านลิเก เป็นจังหวัดบ้านเกิดของนายดอกนายทองแก้ววีรชนคนกล้าในศึกบางระจัน นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยวัดที่มีความสะอาดสวยงามและมีจุดเด่นที่น่าสนใจมากมายกว่า 200 วัด อันเป็นสถานที่ที่น่าศึกษาประวัติศาสตร์และเรื่องราวความเป็นมาในอดีตของชาติไทย งหวัดอ่างทอง

 


 

วิสัยทัศน์จังหวัดอ่างทอง

" เป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย  กระจายสินค้า  สังคมที่มีคุณภาพ  และประชาชนอยู่ดีมีสุข"

 


 

คำขวัญจังหวัดอ่างทอง

พระสมเด็จเกษไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง

โด่งดังจักสาน  ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน

 

 


         ตราประจำจังหวัดอ่างทอง

 

รูปรวงข้าวอยู่ในอ่าง

หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร และเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ

จังหวัดอ่างทอง ใช้อักษรย่อว่า "อท"

 

 


ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

 

- ห่างจากกรุงเทพมหานครมาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ระยะทางประมาณ 105 กิโลเมตร  

 - มีพื้นที่ทั้งหมด 968,372 ตารางกิโลเมตร  

- ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดสิงห์บุรี ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดลพบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดสุพรรณบุรี  

 

ภูมิประเทศ

จังหวัดอ่างทอง ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทยพิกัดทางภูมิศาสตร์อยู่ระหว่าง เส้นรุ้งที่ 14 องศา 35 ลิปดา 12 ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 100 องศา 27 ลิปดา 27 ฟิลิปดาตะวันตก ห่างจากกรุงเทพมหานครตามระยะทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ประมาณ 108 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 968.372 ตร.กม. หรือประมาณ 605,232.5 ไร่

จังหวัดอ่างทอง มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะคล้ายอ่างไม่มี ภูเขา ดินเป็นดินเหนียวปนทราย พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การปลูกข้าว ทำไร่ ทำนา และทำสวน และมี แม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน 2 สาย คือแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อยแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายแขนงที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์จังหวัดชัยนาทจังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดอ่างทอง ซึ่งไหลผ่านอำเภอไชโย อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอป่าโมก รวมระยะทางที่ไหลผ่านจังหวัดอ่างทอง ประมาณ 40 กิโลเมตร

ภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศจัดอยู่ในโซนร้อนและชุ่มชื้น เป็นแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้อากาศหนาวเย็น และแห้งแล้งในช่วงนี้ และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ทำให้มีเมฆมากและฝนตกชุกในช่วงนี้

การเดินทางโดยรถยนต์
รถยนต์ จากกรุงเทพฯสามารถเดินทางได้หลายเส้นทางคือ
เส้นทางที่ 1 ใช้เส้นทางสายพหลโยธิน ทางหลวงหมายเลข 32 จากกรุงเทพฯ แยกเข้าเส้นทางสายเอเชีย ผ่านอำเภอบางปะอิน-พระนครศรีอยุธยา-อำเภอบางปะหัน-อ่างทอง รวมระยะทาง 105 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2 ใช้เส้นทางตัดใหม่ ข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า - ตลิ่งชัน เข้าเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 ผ่านจังหวัดนนทบุรี-ปทุมธานี-พระนครศรีอยุธยา-สุพรรณบุรี-อ่างทอง รวมระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 3 ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-ปทุมธานี ผ่านปากเกร็ด เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111 ผ่านอำเภอบางไทร-อำเภอเสนา-พระนครศรีอยุธยา จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 3263 และต่อเข้าทางหลวงหมายเลข 309 เข้าอำเภอป่าโมก-อ่างทอง รวมระยะทาง 140 กิโลเมตร


รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทางระหว่างกรุงเทพฯ-อ่างทอง ทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ทุกวัน สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 537-8055, 936-2852-66, 936-3603


ระยะทางจากอำเภอเมืองอ่างไปยังอำเภอต่าง ๆ
     อำเภอเมือง-อำเภอป่าโมก ระยะทาง 12 กิโลเมตร
     อำเภอเมือง-อำเภอไชโย ระยะทาง 15 กิโลเมตร
     อำเภอเมือง-อำเภอโพธิ์ทอง ระยะทาง 11 กิโลเมตร
     อำเภอเมือง-อำเภอแสวงหา ระยะทาง 25 กิโลเมตร
     อำเภอเมือง-อำเภอวิเศษชัยชาญ ระยะทาง 13 กิโลเมตร
     อำเภอเมือง-อำเภอสามโก้ ระยะทาง 27 กิโลเมตร

 

ระยะทางจากจังหวัดอ่างทองไปยังจังหวัดใกล้เคียง 
     จังหวัดอ่างทอง-จังหวัดลพบุรี ระยะทาง 18 กิโลเมตร
     จังหวัดอ่างทอง-จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 31 กิโลเมตร
     จังหวัดอ่างทอง-จังหวัดสิงห์บุรี ระยะทาง 40 กิโลเมตร
     จังหวัดอ่างทอง-จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะทาง 80 กิโลเมตร

 

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ (รหัสทางไกล 035)
     สำนักงานจังหวัดอ่างทอง โทร. 0-3561-1235
     สถานีเดินรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ โทร. 0-3561-1025
     สถานีตำรวจอำเภอเมืองอ่างทอง โทร. 0-3561-1000
     โรงพยาบาลอ่างทอง โทร. 0-3561-1520, 0-3561-1151

 

จังหวัดอ่างทองมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ทั้งทางด้านธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น


ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดอ่างทอง

อนุสาวรีย์นายดอก นายทองแก้ว

อำเภอวิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง 

 

ประดิษฐานอยู่ที่หน้าโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม หมู่ที่ 2 ตำบลไผ่จำศีล ตามเส้นทางสายอ่างทอง-วิเศษชัยชาญ ระหว่างกิโลเมตรที่ 26-27 เข้าไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร ซอยปู่ดอก-ปู่ทองแก้ว 16 เป็นอนุสรณ์สถานที่ชาววิเศษชัยชาญและชาวอ่างทองร่วมกันสร้าง เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของวีรบุรุษแห่งบ้านโพธิ์ทะเล ชาววิเศษชัยชาญ ปู่ดอกและปู่ทองแก้ว ทั้งสองท่านยอมสละชีวิตอย่างกล้าหาญ เพื่อปกป้องแผ่นดินไทยในการสู้รบกับพม่า ที่ค่ายบางระจันก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะแตกในปี พ.ศ. 2309 อนุสาวรีย์แห่งนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาทรงเปิดเมื่อ พ.ศ. 2520

 

 

วัดป่าโมกวรวิหาร 

อำเภอป่าโมก จ.อ่างทอง 

 

 

อยู่ในเขตเทศบาลตำบลป่าโมก ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองไป 18 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 309 (สายอ่างทอง-อยุธยา)
กิโลเมตรที่ 40 แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 329 จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 3501 จะเห็นป้ายทางไปวัดป่าโมก ภายในวัดแห่งนี้มีพระพุทธไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของเมืองไทย องค์พระก่ออิฐถือปูนปิดทอง มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัย มีประวัติความเป็นมาเล่าขานกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัด ราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนที่จะยกทัพไปรบกับพระมหาอุปราช ได้เสด็จมาชุมนุมพลและถวายสักการะบูชาพระพุทธรูปองค์นี้

ต่อมากระแสน้ำเซาะเข้ามาใกล้พระวิหาร " สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 3 โปรดเกล้าฯให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กองงานจัดการชะลอลากให้ห่างจากแม่น้ำเดิม (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) ได้เสด็จมาควบคุมการชะลอองค์พระให้พ้นจากกระแสน้ำเซาะตลิ่งพัง และนำไปไว้ยังวิหารใหม่ที่วัดตลาดห่างจากฝั่งแม่น้ำ 168 เมตร แล้วโปรดให้รวมวัดตลาดกับวัดชีปะขาวเป็นวัดเดียวกัน พระราชทานนามว่าวัดป่าโมกเพราะบริเวณนั้นมีต้นโมกมากมาย สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้นอกจากพระพุทธไสยาสน์แล้วยังมี วิหารเขียนซึ่งเล่ากันว่า ผนังวิหารด้านที่หันออกสู่แม่น้ำมีแท่นสูงเข้าใจว่าเป็นแท่นที่เคยมีกษัตริย์ เสด็จประทับยืนบริเวณนั้น มณฑปพระพุทธบาท 4 รอย หอไตร เป็นต้น

 

 

วัดอ้อย 

อำเภอวิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง 

 

 

เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองวิเศษชัยชาญ ตั้งอยู่หมู่ 10 ตำบลศาลเจ้าโรงทอง ริมฝั่งแม่น้ำน้อย ไปตามทางหลวงหมายเลข 3454 ประมาณ 2 กิโลเมตร ห่างจากวัดเขียนไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาแต่จะสร้างในสมัยใด ใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด พระอุโบสถเป็นอาคารขนาดใหญ่หกห้อง ก่ออิฐถือปูนแบบโบราณ หลังคาเป็นเครื่องไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีลักษณะสวยงามคล้ายกับพระอุโบสถวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระอุโบสถนี้ไม่มีหน้าต่าง ลักษณะแบบนี้เรียกว่ามหาอุด รอบโบสถ์มีเสมา 8 ทิศ พระประธานเป็นพระหล่อสัมฤทธิ์ ชาวบ้านเรียกว่าหลวงพ่อดำ วัดอ้อยเป็นวัดถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสมัยอยุธยา นอกจากนี้ในบริเวณพื้นที่ของวัดอ้อย มูลนิธิสร้างสรรค์เด็กได้เปิดบ้านสำหรับให้ที่พักพิงแก่เด็กมีปัญหา เด็กเร่ร่อนติดยา หรือเคยประพฤติผิดกฏหมายชื่อว่า "บ้านเด็กใกล้วัด เพื่อช่วยให้เด็กเหล่านี้มีชีวิตใหม่ที่ดีขึ้นได้สัมผัสธรรมชาติ และมีพระสงฆ์คอยช่วยเหลือบำบัดทางด้านจิตใจ

 

 

หมู่บ้านจักสาน  

อำเภอโพธิ์ทอง จ.อ่างทอง 

 

 

หมู่บ้านจักสาน งานฝีมือจักสานอันลือชื่อของอ่างทอง ส่วนมากจะเป็นฝีมือของชาวอำเภอโพธิ์ทอง แทบทุกครัวเรือนที่ตั้งบ้านเรือนเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในละแวกเ
ดียวกัน มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มการผลิตเครื่องจักสาน เครื่องหวาย กลุ่มจักสานไม้ไผ่ เช่น กลุ่มตำบลองครักษ์ กลุ่มตำบลบางเจ้าฉ่า กลุ่มตำบลบางระกำ กลุ่มตำบลพลับ และกลุ่มตำบลอิทประมูล แหล่งหัตถกรรมเครื่องจักสานสำคัญที่ขึ้นชื่อของจังหวัดคือ " บ้านบางเจ้าฉ่า ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 บ้านยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่า ตำบลนี้เป็นชุมชนที่มีมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งชาวบ้านได้เคยร่วมกับชาวแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ และชาวบางระจัน สู้รบกับพม่า ณ บ้านบางระจัน โดยมีนายฉ่าเป็นผู้นำ นายฉ่านั้นพื้นเพเป็นคนสีบัวทอง ภายหลังการสู้รบยุติแล้ว "นายฉ่า จึงได้นำชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือน เป็นที่อยู่อาศัยถาวรขึ้นในชุมชนด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำน้อย แต่เดิมเรียกว่า "บ้านสร้างสามเรือน เพราะเริ่มแรกมีเพียงสามหลังคาเรือนเท่านั้น ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การตั้งเป็นที่อยู่อาศัย ปัจจุบันมีชื่อว่า "บางเจ้าฉ่า เพราะนำชื่อของนายฉ่ามาตั้งชื่อ ซึ่งนายฉ่านั้นเป็นทั้งผู้นำและเป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน
ที่นี่เป็นแหล่งผลิตเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมาเยือนและได้พระราชทานคำแนะนำให้ราษฎรปลูกไม้ไผ่สีสุก เพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องจักสาน และเป็นการอนุรักษ์งานฝีมือประเภทนี้ไว้ งานจักสานของบ้านบางเจ้าฉ่านี้มีความละเอียดประณีตสวยงาม สามารถพัฒนางานฝีมือตามความต้องการของตลาด ไม่ยึดติดกับรูปแบบเก่า จนสามารถส่งออกขายต่างประเทศได้ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาอาชีพ
ภายในหมู่บ้านมีพิพิธภัณฑ์เครื่องใช้ไม้ไผ่ แสดงอุปกรณ์เครื่องใช้พื้นบ้านต่างๆ ที่ผลิตจากไม้ไผ่และมีเก็บรวบรวมเอาไว้ นอกจากนี้ที่บางเจ้าฉ่า ยังมีบริการรถอีแต๋นชมวิถีชีวิตริมแม่น้ำน้อย กิจกรรมชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สวนมะม่วง สวนมะยงชิด และสวนกระท้อน ฯลฯ ชมแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอใกล้เคียง อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอไชโย และอำเภอแสวงหา มีบ้านพักโฮมสเตย์ไว้คอยบริการด้วย
การเดินทางไปตามเส้นทางสายอ่างทอง-โพธิ์ทอง ประมาณ 9 กิโลเมตร ถึงคลองชลประทานยางมณี จากนั้นเลี้ยวขวาเลียบคลองไปอีกประมาณ 5กิโลเมตร จึงเลี้ยวขวาไปตามทางเข้าวัดยางทอง แหล่งหัตถกรรมจะอยู่บริเวณหลังวัดยางทอง

 

 

วัดท่าสุทธาวาส 

อำเภอป่าโมก จ.อ่างทอง 

 

 

ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออกเขตตำบลบางเสด็จ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณ ในสมัยอยุธยาตอนต้น เวลาศึกสงครามบริเวณนี้จะเป็นเส้นทางเดินทัพข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา การเดินทางใช้เส้นทางสาย อยุธยา-อ่างทอง (ทางหลวงหมายเลข 309) กิโลเมตรที่ 38-39 ทางเข้าวัดจะอยู่ซ้ายมือก่อนถึงตัวจังหวัดอ่างทองประมาณ 17 กิโลเมตร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับวัดนี้ไว้ในพระราชอุปถัมภ์ บริเวณวัดแห่งนี้ร่มรื่นด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ และทัศนียภาพสวยงามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีการจัดสร้างพลับพลาที่ประทับกลางสระน้ำ และสร้างพระเจดีย์เพื่อแสดงพระพุทธรูปโบราณ และโบราณวัตถุต่างๆ ข้างพลับพลาประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ และภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จิตรกรส่วนพระองค์และนักเรียนในโครงการศิลปาชีพเขียนขึ้น เช่นเรื่อง พระมหาชนก ประวัติเมืองอ่างทอง อีกทั้งมีภาพฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ทรงจรดปลายพู่กันวาดผลมะม่วงไว้ด้วย

 

 

ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ 

อำเภอป่าโมก จ.อ่างทอง 

 

 

เป็นเรือนไทยทรงสูง อยู่ด้านหลังวัดท่าสุทธาวาส ในพื้นที่ตำบลบ้านบางเสด็จ ตำบลนี้เดิมชื่อบ้านวัดตาลต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อบ้านบางเสด็จ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในปี พ.ศ.2518 ซึ่งสร้างความปลื้มปิติให้แก่ราษฎรเป็นอันมาก เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณจึงได้เปลี่ยนชื่อบ้านวัดตาลเป็น บ้านบางเสด็จ
โครงการตุ๊กตาชาววังที่บ้านบางเสด็จ เป็นโครงการที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2519 เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้ ให้แก่ราษฎร ภายในหมู่บ้านบางเสด็จนี้ นอกจากจะได้ชมทัศนียภาพอันร่มรื่นและสวยงามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วยังสามารถชมกา
รปั้นตุ๊กตาชาววังจากบ้านเรือนราษฎรละแวกนั้น ได้อย่างเป็นกันเอง มีการรวมกลุ่มในรูปของสหกรณ์โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ ซึ่งจะจัดให้สมาชิกมาสาธิตการปั้นตุ๊กตาชาววัง พร้อมกับจัดจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยา ตุ๊กตาชาววังเป็นประดิษฐกรรมดินเหนียวที่สวยงาม แสดงให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนและวัฒนธรรมประเพณีไทยต่างๆ เช่น การละเล่นของเด็กไทย วงมโหรีปี่พาทย์ หรือรูปผลไม้ไทยหลากหลายชนิดซึ่งล้วนมีความสวยงามน่ารัก และเหมาะที่จะซื้อเป็นของฝาก หรือของที่ระลึกเป็นอย่างยิ่ง ศูนย์ปั้นและจำหน่ายตุ๊กตาชาววัง เปิดทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. โทร. 0 3566 2995

 

 

หมู่บ้านทำกลอง 

อำเภอป่าโมก จ.อ่างทอง 

 

ตั้งอยู่ที่ ตำบลเอกราช หลังตลาดป่าโมก ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา การเดินทางใช้ถนนสายใน ผ่านหน้าที่ทำการเทศบาลอำเภอป่าโมกซึ่งขนานไปกับลำคลองชลประทาน ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร ตลอดสองข้างทางจะเห็นร้านขายกลองเป็นระยะๆ ชาวบ้านแพเริ่มผลิตกลองมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 โดยจะเริ่มหลังฤดูเก็บเกี่ยว วัตถุดิบที่ใช้ทำกลองได้แก่ ไม้ฉำฉาเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายกับหนังวัว เราสามารถชมกรรมวิธีการทำกลองตั้งแต่เริ่มกลึงท่อนไม้เรื่อยๆไป จนถึงขั้นตอนการขึ้นกลอง การฝังหมุด กลองที่ทำมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงกลองขนาดใหญ่เช่น กลองทัด ซึ่งเราจะได้เห็นถึงฝีมือการทำที่มีคุณภาพ ประณีต สวยงามและยังสามารถซื้อไปเป็นของที่ระลึกกลับบ้าน หากผ่านหน้าบ้านกำนันหงส์ฟ้า หยดย้อย จะเห็นกลองยาวที่สุดในโลกตั้งอยู่ หน้ากลองกว้าง 36 นิ้ว 92 เซนติเมตร ยาว 7.6 เมตร ทำจากไม้จามจุรีต่อกัน 6 ท่อน สร้างปี 2537 ใช้เวลาสร้างประมาณ 1 ปี

 

 

 

10 กรกฎาคม 2556 | จำนวนเข้าชม 1745 ครั้ง